วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 

กิจกรรมที่ 3

  1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
        ตอบ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


   2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
        ตอบ   มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


   3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
           ) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
           ) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
           ) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

   4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้มาตรา ๔ นิยามคำว่า กฎกระทรวงแก้ไขโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒).. ๒๕๔๕
มาตรา ๕ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕ () มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
() มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
() มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
และประเภทการศึกษา
() มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และ
การพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
() ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
() การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

   5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ  หมวด ๒  สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเอง
ได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่
เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่น
ใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
มาตรา ๑๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษา
นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา ๑๒ นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล
ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน
สังคมอื่น มีสิทธิในการจัดศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
               มาตรา ๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
() การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้
การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
() เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ใน
วามดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด
() การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิ
ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังต่อไปนี้
() การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ใน
ความดูแลรับผิดชอบ
() เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
() การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
() การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
() การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการ
สำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
() การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความ
สนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

   7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
      ตอบ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตและสามารถเลือกเรียนได้หลายทางขึ้นอยู่กับความชอบ

   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
      ตอบ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
รัฐสภา ดังต่อไปนี้
         มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓)
.. ๒๕๕๓
        มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
         มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
.. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
     มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา
โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น
เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี
การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา
ตามอัธยาศัย
() การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
() การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
               เหตุผล           ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา
ของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษา
มีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

   9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
     ตอบ  เห็นด้วย เพราะเป็นหน้าที่สถานศึกษาที่จะการศึกษาขั้นฐานให้แก่ทุกคน

   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
    ตอบ  เห็นด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นและร่วมช่วยเหลือในการจัดการศึกษา

   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
     ตอบ เห็นด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพทำให้ทุกคนรู้ว่าเราจบอะไรมาแสดงความน่าเชื่อถือในครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชนและผู้ปกครองไว้ใจที่จะส่งลูกหลานมาเรียน

   13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
     ตอบ ควรจัดตั้งหน่วยงานรับบริจาคเงินช่วยเหลือนักเรียนที่ชุมชน  หรือจัดกิจกรรมหารายได้เพื่อระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษา

   14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ  ร่วมกันออกแบบสื่อในการเรียนรู้อาจจะทำสื่อที่ทำด้วยวัสดุเหลือใช้  หรือระดมทุนซื้อคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
 

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 

กิจกรรมที่ 2

 

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ

     ตอบ    ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

     ตอบ     ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
            มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การ จัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
 
          มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การ ศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

    ตอบ  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำ มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้
             - การแจ้งเกิด ซึ่งจะต้องแจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่ เกิน 1,000 บาท
             - การแจ้งตาย คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง 
                  - การจดทะเบียนสมรส

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

    ตอบ   เพราะว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ เหตุผลที่ยอมรับกันเป็นหลักการว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ดังนั้นในประเทศจึงจะต้องเคารพกฏ เพื่อที่สังคมไทยจะได้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่ รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่ม จึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

     ตอบ เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคนที่หวังว่าตนเองจะได้รับผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าส่วนรวม ซึ่งรัฐธรรมนูญจะไม่ช่วขจัดปัดเป่าความขัดแย้งในสังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา  การออกแบบรัฐธรรมนูญ จึงมีความสำคัญยิ่ง แต่ในทางกลับกันก็จะเกิดความขัดแย้งตามมาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เป็นต้น

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 

   ตอบ  ปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่
           - ขาดความร่วมมือและการรับผิดชอบของสมาชิกในสภาซึ่งบางคนขาดความรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่พรรคของฝ่ายตนเองก็จะไม่ให้ความร่วมมือ ในการประชุมหรือทำงานร่วมกัน เช่น การงดการออกเสียง การโต้เถียงกัน จนทำให้มีปัญหา จึงทำให้ขาดความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง เพราะขนาดในที่เล็กๆคนไม่กี่คนยังคุมไม่ได้แล้วจะคุมคนทั้งประเทศได้อย่างไร








วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง

แนะนำตนเอง
 

นางสาวราชาวดี แซ่อึ่ง รหัสนักศึกษา 5311103110
คณะครูศาสตร์ สาขาวิชา คณิตศาสตร์
ชั้นปีที่ 3
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา
ชั้นประถมศึกษา จบจากโรงเรียนวัดคงคา
ชั้นมัธยมศึกษา จบจากโรงเรียนคงคาประชารักษ์

ปรัชญาการดำเนินชีวิต
"รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา"


 กิจกรรมที่1

 ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษา อย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

1.นิยามของคำว่า "ผู้รับพินัยกรรม"
 
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม


2.นิยามของคำว่า "ค้ำประกัน"
 
สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน? ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่งสัญญาค้ำประกัน?นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน?เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ 

3.นิยามของคำว่า "ทายาทโดยธรรม"
 
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย

4.นิยามของคำว่า "สินสมรส"
 
เป็นทรัพย์สินที่มีขึ้นหลังจากการสมรส 

5.นิยามของคำว่า "หมิ่นประมาท"
 
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง 


6.นิยามของคำว่า "คดีแพ่ง"
 
คือคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน

7.นิยามของคำว่า "ศาลอาญา"
 
เป็นศาลที่ไต่สวนเกี่ยวกับคดีอาญาทั้งปวง คดีอาญาเช่นลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าคนตาย

8.นิยามของคำว่า "ศาลฎีกา"
 
ศาลฏีกาเป็นศาลสูงสุดของกระบวนการศาลยุติธรรม ตามลำดับอันได้แก่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฏีกา 

9.นิยามของคำว่า "คดีขาดอายุความ"
 
ระยะเวลาที่จะนำคดีความฟ้องร้องต่อศาลได้หมดลงแล้ว 

10.นิยามของคำว่า "บุคคลล้มละลาย"
 
เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าหนึ่งล้านแล้วถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย                                                                                                                                                        ที่มาhttp://www.lawamendment.go.th/word_last1.asp?page=9&cid=&search=