วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค
 
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด 
   พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
         ตอบ    กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ  กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นต้นแบบให้กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น ๆ ที่เรียกว่ากฎหมายลูก
                   พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือจะเรียกว่าเป็นกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติก็ได้ 
                   พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อตราขึ้นแล้วจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้ปฏิบัติไปตามพระราชกำหนดนั้นแล้ว แต่ถ้ารัฐสภาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติต่อไป 
                   พระรากฤษฎีกา เป็นอนุบัญญัติ เป็นกฎหมายรองจากพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งพระรมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกานั้นต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด 
                   เทศบัญญัติ  คือ   กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร        
   ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
   เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย

         ตอบ   กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้ บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ควรมี กฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ



3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
   แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล

         ตอบ มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”   ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ต้องแก้ไขแล้วเพราะมาตรา 112 นี้ เหมาะสมดีแล้ว และสิ่งที่นักวิชาการต้องการแก้ไขนั้นอาจเป็นเพราะมันเป็นประโยชน์สำหรับตัว ของเขาเองซึ่งอาจมีผลกระทบหรือปัญหาต่างๆตามมาในทางที่ไม่ดี ซึ่งต้องการทำไห้ตนเองพ้นความผิด และโทษของตนเอง

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ
   กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
   มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
  แดน

         ตอบ    ปัญหา ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งและจากการที่ได้ติดตามข่าวสารเรื่องนี้นั้น เป็นข่าวที่น่าสนใจมากเพราะเรื่องเกิดขึ้นมาจากการตีความแผนที่คนละแผ่นกัน จึงทำให้เป็นเหตุให้มีการบุกล้ำพื้นที่ระหว่างกัน โดยมีทหารหรือคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทำการก่อเหตุ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น และที่สำคัญคือ กรณีของเขาพระวิหารที่ตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลย สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ อย่าใช้ความรุนแรงและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศตนเองและส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวก นั้นให้น้อยที่สุด และพูดคุยกันโดยใช้สันติวิธี พูดคุยกันโดยที่ไม่ได้ทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียผลประโยชน์ของกันและกัน

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
   กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล

          ตอบ เห็น ด้วย เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข ประชาชนได้มีการศึกษาความรู้และความสามารถที่แข็งแรงและให้ประชาชนในประเทศ มีความรู้ที่สูงขึ้นและรัฐธรรมนูญสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนเคารพในกฎหมาย เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาก็เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษาเพราะรัฐ ธรรมนูญได้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นทำให้คนไทยมีการศึกษาและปลูกฝังให้ คนไทยมิตสำนึกที่ดี

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย
   การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ 
   การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้น
   พื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกัน
   คุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา                    
   ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา 
   สถานศึกษา

            ตอบ    การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
                      การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
                     การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
                    การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                     การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
                     การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
                     สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
                    สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                    มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เปฌนหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                    การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
                    การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
                     ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                     ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
                     คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
                     ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
                     บุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
   การจัดการศึกษา อย่างไร

           ตอบ  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา  จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม
        หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็นต้องขอขยายความดังนี้
            1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                        หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก
ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532  คำประกาศ
จอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education"
ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง
ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษา
เชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
            2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                       หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทาง
ปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้ว
ยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน
องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี
ของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
                3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
                     หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ
อีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่น
ก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น
   ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด
   กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
   มีวิธีการทำอย่างไร

           ตอบ      ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด หากดูตามเจตนาของผู้เข้ามาสอน หากผู้นั้นมีความตั้งใจจริงที่จะสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน แต่อาจเนื่องด้วยผู้สอนมีข้อจำกัดหรือข้อจำเป็นบางอย่างหรืออาจไม่ทราบรายละเอียดในทางกฎหมายการศึกษาตามมาตรา 46 ที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
ดังนั้นเพื่อให้การนำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ผู้สอนควารศึกษากฎหมายการศึกษา และดำเนินการขออนุญาติหรือขอใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาให้ถูกต้อง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

           ตอบ  ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
                    1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. 2547
                            2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                            3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                            4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช


10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
     ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
     และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
     วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร

            ตอบ จากที่เรียนวิชานี้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองได้ความรู้เป็นอย่างมากจากวิชานี้เพราะจากที่ทำWeblogไม่เป็นก็ทำเป็นและเป็นการเรียนการสอนแบบทันสมัย ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ สอนจึงมีความเหมาะสมในการเรียน จากการได้เรียนวิชานี้ทมานั้นจะใก้เกรดA กับวิชานี้เพราะรู้สึกว่าเป็นวิชาที่น่าเรียนและได้เรียนรู้อะไรใหม่ และสำหรับข้าพเจ้าซึ่งข้าพเจ้าก็คิดว่าตนเองก็ควรที่จะได้Aวิชานี้เหมือนกันเพราะข้าพชอบ และตั้งใจเป็นอย่างมากกะวิชานี้และไม่เคยขาดเรียนแม้แต่ครั้งเดียว


     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น